แผลถลอก สาระน่ารู้ พร้อมสอนวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น

แผลถลอก สาระน่ารู้ พร้อมสอนวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น

  • 286

แผลถลอก หรือ Skin Abrasions หมายถึง แผลเปิด ซึ่งเกิดจากการที่ผิวหนังไปถูกับพื้นผิวที่แข็งและขรุขระ ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นจากอุบัติเหตุ โดยบริเวณที่เกิดแผลถลอกได้บ่อย คือ คาง, ข้อศอก, แขน, ขา และข้อเท้าต่าง ๆ แม้ว่าแผลถลอกจะไม่ใช่อาการบาดเจ็บที่รุนแรงจนต้องผ่าตัด แต่ต้องได้รับการรักษาที่ถูกวิธี เนื่องจากแผลเปิดเป็นช่องทางในการรับเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ง่าย และหากปล่อยนานเกินไป จะมีอาการอักเสบและเกิดโรคแทรกซ้อนได้

ระดับความรุนแรงของอาการแผลถลอก

น้อยคนนักที่จะรู้ว่าอาการดูดไขมันของแผลถลอก จะมีระดับความรุนแรงต่างกัน ซึ่งสามารถสังเกตได้จากการถลอกไปถึงชั้นใดของผิวหนัง ซึ่งจะมีแนวทางในการรักษาต่างกัน โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • แผลถลอกระดับที่หนึ่ง หมายถึง แผลที่ถลอกเพียงแค่ผิวหนังด้านนอก ไม่มีเลือดออก หรือ ที่หลายคนจะเรียกว่ารอยขีดข่วนต่าง ๆ นั้นเอง เป็นอาการไม่รุนแรง
  • แผลถลอกระดับที่สอง หมายถึง แผลที่ได้รับจากเป็นการถลอกของผิวหนังด้านนอกสุด และผิวหนังกำพร้า ในคนที่มีการถลอกถึงชั้นนี้ จะมีเลือกซึมออกมาเล็กน้อย และมีอาการเจ็บไม่รุนแรง
  • แผลถลอกระดับที่สาม หมายถึง แผลที่ได้รับการบาดเจ็บลึกไปกว่าชั้นผิวกำพร้า และผู้ป่วยหลายคนที่แผลถลอกในระดับนี้ จะมีเลือดไหลออกจากแผลเยอะ แล้วในการรักษาต้องรับพบแพทย์ทันที

แนวทางในการรักษาแผลถลอกด้วยตนเอง

ในการรักษาพยาบาลเบื้องต้น สามารถทำเองได้ที่บ้านและต้องอยู่ในระดับความรุนแรงของแผลที่ 1 กับ 2 เท่านั้น หรือแผลที่ไม่เลือดออกเยอะ หรือ บวมอักเสบมากจนเกินไป มีวิธีการรักษา ดังนี้

  • ทำความสะอาดร่างกาย โดยเฉพาะที่มือ เพราะต้องหยิบจับอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการทำความสะอาดที่ปากแผล
  • หลังจากที่ทำความสะอาดมือเรียบร้อย ให้เริ่มต้นด้วยการล้างที่แผลถลอกก่อน สามารถใช้น้ำสะอาดล้างได้ หรือ หากมีเศษหิน หรือ สิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ อยู่ในแผลต้องใช้ที่คีบฆ่าเชื้อมาแล้ว คีบออก
  • เมื่อทำความสะอาดแผลเรียบร้อย ให้ใส่ยาฆ่าเชื้อลงไป และพันแผลให้เรียบร้อย แล้วขยันล้างแผล พยายามอย่าให้แผลโดนน้ำมากเกินไป

สำหรับแผลที่เป็นเพียงรอยข่วน หรือระดับความรุนแรงที่ 1 ทุกคนสามารถปล่อยทิ้งได้เลย เพราะร่างกายจะค่อย ๆ รักษาเอง ทว่าหากมีอาการผิดปกติ เช่น เจ็บ แดง บวม หรือมีอาการไข้ร่วมด้วย ให้รีบเข้าพบแพทย์ทันที

ไข้ข้องใจ! แผลถลอก ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้จริงหรือไม่

ต้องอธิบายว่าหากเป็นแผลถลอกในชั้นที่ไม่ลึกมาก หรือระดับความรุนแรงที่ 1 นั้น ส่วนใหญ่ไม่พบการติดเชื้อและโรคแทรกซ้อน ทว่าจะเป็นระดับที่ลึกถึงหนังกำพร้าลงไป สามารถเกิดโรคแทรกซ้อนได้ เพราะแผลเปิดและไม่มีการปิดปากแผล หรือรักษาอาการไม่ถูกวิธี แผลสามารถอักเสบ และติดเชื้ออื่น ๆ จนทำให้อาการทรุดลงได้ โดยมีหลักการในการสังเกต ดังนี้

  • แผลถลอกที่ได้รับมา ไม่นานตามเวลาที่ควร แผลมีการขยายวงกว้าง รักษาเกินกว่า 14 วัน ไม่มีท่าทีจะดีขึ้นเลย
  • มีอาการปวดหัว เป็นไข้ หรือ ที่ปากแผลเกิดการระคายเคือง ซึ่งต้องดูว่าที่ระคายเคืองเกิดจากสะเกิดแผลหรือไม่ หากไม่มีสะเก็ดแผล ก็อาจจะติดเชื้อได้
  • แผลถลอกมีกลิ่นไม่พึงประสงค์ เป็นกลิ่นเหม็น แม้จะล้างแผลทุกวันก็ยังมีกลิ่นอยู่ดี
  • เกิดหนองที่แผล ไม่ว่าจะสีเหลือ หรือสีเขียวก็ตาม เกิดจากการผิดปกติทั้งสิ้น
  • หลังจากที่เกิดแผลถลอก มีอาการไข้นานเกิน 4 ชั่วโมง แม้จะทานยาลดไข้แล้วก็ตาม แผลผิดปกติแน่นอน
  • เจ็บปวดที่ต่อมน้ำเหลืองในบริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย จะเจ็บแค่สองหรือสามจุดก็ถือว่าไม่ดี

หากผู้ป่วยที่มีแผลถลอกและพบว่าตนเองมีอาการที่กล่าวมาข้างต้น เป็นสิ่งที่ไม่เป็นผลดีต่อร่างกาย ต้องเข้ารับการรักษาโดยแพทย์ทันที เพราะเป็นอาการเบื้องต้นของแผลที่ติดเชื้อ

อาการแผลถลอกแบบไหน ต้องพบแพทย์ทันที

หลายคนอาจะประเมินอาการไม่ได้ แผลถลอกมี 3 ระดับของความรุนแรง หากไม่สามารถตัดสินใจได้ ให้ลองดูอาการตนเอง มีข้อสังเกต

  • ที่ปากแผลถลอกมีเลือดไหลออกมาไม่หยุดเลย แม้จะห้ามเลือดแล้ว หากเกิน 5 นาที ไม่หยุด ให้พบแพทย์ได้เลย
  • อาการแผลถลอกที่เกิดจากอุบัติเหตุรุนแรง ไม่ต้องรอเช่นกัน ให้พบแพทย์ทันที เพราะอาจจะมีอาการบาดเจ็บอย่างอื่นร่วมด้วย
  • แผลถลอกที่เกิดจากอุบัติเหตุที่รุนแรง ไม่ต้องรอเช่นกัน ให้พบแพทย์ เพราะอาจจะมีอาการบาดเจ็บอย่างอื่นร่วมด้วยได้นั้นเอง

โดยอาการของแผลถลอกจะรักษาให้ดีขึ้นได้ใน 14 วัน และจะค่อย ๆ หายไปเอง แม้จะเป็นอาการที่ไม่ต้องกังวลมาก แต่การรักษาตนเองให้ถูกวิธีดีที่สุด และการใช้ชีวิตออย่าประมาณเด็ดขาด

แผลถลอก หรือ Skin Abrasions หมายถึง แผลเปิด ซึ่งเกิดจากการที่ผิวหนังไปถูกับพื้นผิวที่แข็งและขรุขระ ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นจากอุบัติเหตุ โดยบริเวณที่เกิดแผลถลอกได้บ่อย คือ คาง, ข้อศอก, แขน, ขา และข้อเท้าต่าง ๆ แม้ว่าแผลถลอกจะไม่ใช่อาการบาดเจ็บที่รุนแรงจนต้องผ่าตัด แต่ต้องได้รับการรักษาที่ถูกวิธี เนื่องจากแผลเปิดเป็นช่องทางในการรับเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ง่าย และหากปล่อยนานเกินไป จะมีอาการอักเสบและเกิดโรคแทรกซ้อนได้ ระดับความรุนแรงของอาการแผลถลอก น้อยคนนักที่จะรู้ว่าอาการดูดไขมันของแผลถลอก จะมีระดับความรุนแรงต่างกัน ซึ่งสามารถสังเกตได้จากการถลอกไปถึงชั้นใดของผิวหนัง ซึ่งจะมีแนวทางในการรักษาต่างกัน โดยมีรายละเอียด ดังนี้ แผลถลอกระดับที่หนึ่ง หมายถึง แผลที่ถลอกเพียงแค่ผิวหนังด้านนอก ไม่มีเลือดออก หรือ ที่หลายคนจะเรียกว่ารอยขีดข่วนต่าง ๆ นั้นเอง เป็นอาการไม่รุนแรง แผลถลอกระดับที่สอง หมายถึง แผลที่ได้รับจากเป็นการถลอกของผิวหนังด้านนอกสุด และผิวหนังกำพร้า ในคนที่มีการถลอกถึงชั้นนี้ จะมีเลือกซึมออกมาเล็กน้อย และมีอาการเจ็บไม่รุนแรง แผลถลอกระดับที่สาม หมายถึง แผลที่ได้รับการบาดเจ็บลึกไปกว่าชั้นผิวกำพร้า และผู้ป่วยหลายคนที่แผลถลอกในระดับนี้ จะมีเลือดไหลออกจากแผลเยอะ แล้วในการรักษาต้องรับพบแพทย์ทันที แนวทางในการรักษาแผลถลอกด้วยตนเอง ในการรักษาพยาบาลเบื้องต้น สามารถทำเองได้ที่บ้านและต้องอยู่ในระดับความรุนแรงของแผลที่…

แผลถลอก หรือ Skin Abrasions หมายถึง แผลเปิด ซึ่งเกิดจากการที่ผิวหนังไปถูกับพื้นผิวที่แข็งและขรุขระ ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นจากอุบัติเหตุ โดยบริเวณที่เกิดแผลถลอกได้บ่อย คือ คาง, ข้อศอก, แขน, ขา และข้อเท้าต่าง ๆ แม้ว่าแผลถลอกจะไม่ใช่อาการบาดเจ็บที่รุนแรงจนต้องผ่าตัด แต่ต้องได้รับการรักษาที่ถูกวิธี เนื่องจากแผลเปิดเป็นช่องทางในการรับเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ง่าย และหากปล่อยนานเกินไป จะมีอาการอักเสบและเกิดโรคแทรกซ้อนได้ ระดับความรุนแรงของอาการแผลถลอก น้อยคนนักที่จะรู้ว่าอาการดูดไขมันของแผลถลอก จะมีระดับความรุนแรงต่างกัน ซึ่งสามารถสังเกตได้จากการถลอกไปถึงชั้นใดของผิวหนัง ซึ่งจะมีแนวทางในการรักษาต่างกัน โดยมีรายละเอียด ดังนี้ แผลถลอกระดับที่หนึ่ง หมายถึง แผลที่ถลอกเพียงแค่ผิวหนังด้านนอก ไม่มีเลือดออก หรือ ที่หลายคนจะเรียกว่ารอยขีดข่วนต่าง ๆ นั้นเอง เป็นอาการไม่รุนแรง แผลถลอกระดับที่สอง หมายถึง แผลที่ได้รับจากเป็นการถลอกของผิวหนังด้านนอกสุด และผิวหนังกำพร้า ในคนที่มีการถลอกถึงชั้นนี้ จะมีเลือกซึมออกมาเล็กน้อย และมีอาการเจ็บไม่รุนแรง แผลถลอกระดับที่สาม หมายถึง แผลที่ได้รับการบาดเจ็บลึกไปกว่าชั้นผิวกำพร้า และผู้ป่วยหลายคนที่แผลถลอกในระดับนี้ จะมีเลือดไหลออกจากแผลเยอะ แล้วในการรักษาต้องรับพบแพทย์ทันที แนวทางในการรักษาแผลถลอกด้วยตนเอง ในการรักษาพยาบาลเบื้องต้น สามารถทำเองได้ที่บ้านและต้องอยู่ในระดับความรุนแรงของแผลที่…